สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. จัดตั้งขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลงานโครงการหลวงในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูงของประเทศไทยให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2548 เพื่อเป็นกระบวนการและกลไกในการเสริมสร้างงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรม การเสริมสร้างและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การเก็บรักษาคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวง และการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนพื้นที่สูง ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ป่าต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในระดับนานาชาติเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ขยายวัตถุประสงค์ให้สามารถบริหารจัดการสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองราชย์ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสวนแห่งนี้ว่า อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และต่อมาสำนักราชเลขาธิการแจ้งชื่อภาษาอังกฤษว่า "Royal Park Rajapruek"
นโยบายการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนางานโครงการหลวงและดำเนินการขยายผลโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้งให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านการวิจัยและการพัฒนาพื้นที่สูงในระดับนานาชาติ โดยในการปฏิบัติงานของสถาบันมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทุกมิติ สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้จากโครงการหลวงจนเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม ประกอบด้วย
สนับสนุนงานโครงการหลวงและการขยายผลงานโครงการหลวงไปปรับใช้ในชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้นและฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารให้มีความสมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เน้นการวิจัยเชิงบูรณาการองค์ความรู้โครงการหลวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชสำคัญ พืชอาหาร พัฒนาศักยภาพการตลาดและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานบนพื้นที่สูง การดำเนินงานวิจัยเน้นกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับชุมชนเพื่อสามารถนำเทคโนโลยีไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม
1.2 งานวิจัยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ
1.3 งานสนับสนุนการวิจัยเชิงนโยบายและสังคมเพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
สนับสนุนการวิจัยให้เกิดการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานบนพื้นที่สูงที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม และรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเน้นวิจัยผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของพืชเป็นหลัก เช่น ข้าว พืชเมืองหนาว พืชสำคัญบนพื้นที่สูง ฯลฯ รวมทั้งเน้นการศึกษากลไกการเรียนรู้และการปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2.1 งานสนับสนุนการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อุทยานหลวงราชพฤกษ์เป็นแหล่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์การเรียนรู้พฤกษ์ศาสตร์การเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่สูง วิถีชีวิต วัฒนธรรม ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ มีกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย
3.1 งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.2 งานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์การเกษตร และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งส่งเสริมทัศนคติการลดโลกร้อนและเศรษฐกิจสีเขียว
3.3 งานพัฒนาและปรับปรุงสวนเพื่อให้สวนมีคุณภาพและสร้างความโดดเด่น
3.4 งานด้านการตลาด การสร้างรายได้ และการประชาสัมพันธ์
3.5 งานเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เน้นบริหารงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการบริหาร จัดการบุคคล การบริหารการเงินและงบประมาณ การจัดการระบบการทำงาน การติดตามและประเมินผล และการพัฒนาระบบสื่อสาร และสารสนเทศ รวมทั้งสร้างความประทับใจและความพึงพอใจแก่ผู้มาใช้บริการและเกษตรกรเป้าหมาย ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือบนพื้นที่สูง
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง_(องค์การมหาชน)